กรุณารอสักครู่

TH EN
 

โครงการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ (Early - Stage) ปี 2562

1 มีนาคม 2562 17,956

โครงการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ (Early - Stage) ปี 2562

  • โครงการที่ดำเนินการต่อเนื่องมาแล้ว 3 ปี ตั้งแต่ปี 2559-2561 ชื่อโครงการเดิมคือ โครงการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ (Start up)
  • กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ประกอบการ กลุ่ม SME ทั่วไป และกลุ่ม SME ภาคการเกษตร

วัตถุประสงค์

  • ส่งเสริม และสนับสนุนให้ผู้ประกอบการใช้องค์ความรู้ในการทำธุรกิจ มีระบบการบริหารจัดการและใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการทำธุรกิจให้เกิด High Value ทั้งในแง่เชิงทฤษฎี และเชิงปฏิบัติ
  • ช่วยเหลือผู้ประกอบการให้มีความแข็งแรงในการจัดตั้งธุรกิจให้ยั่งยืนได้ในระยะยาวเพราะเป็นการทำธุรกิจอยู่บนพื้นฐานองค์ความรู้ทำให้มีเป้าหมาย และมีความชัดเจนในการสร้างธุรกิจ

คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ

1. ผู้ประกอบการที่ยังไม่ได้ลงทะเบียนธุรกิจใดๆ หรือจดทะเบียนธุรกิจแล้วไม่เกิน 3 ปี

2. วิสาหกิจชุมชน / เครือข่ายวิสาหกิจชุมชน

3. นักเรียน นักศึกษา บุคคลทั่วไปที่สนใจอยากจะเริ่มธุรกกิจ

 

พื้นที่ดำเนินการ : ทั่วประเทศ

 

แนวทางการพัฒนาผู้ประกอบการ

 

กิจกรรม 1 อบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship Course)

มุ่งเน้นการเรียนรู้การเป็นผู้ประกอบการให้มีความสมัยใหม่เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มจากนวัตกรรม และการยกระดับธุรกิจ High Value การบริการจัดการธุรกิจทั่วไป การบัญชี การเงิน การตลาด กฎหมายธุรกิจ เป็นต้น

กิจกรรม 2 อบรมเชิงปฏิบัติจัดทำแผนธุรกิจ

การเตรียมพร้อมขอกู้เงินผู้ที่เข้าร่วมอบรมจะต้องมีแผนธุรกิจ 1 เล่ม/ราย และพร้อมเข้าสู่การบริการต่างๆของ สสว.และภาครัฐ เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพานิชย์ ซึ่งมีการสนับสนุนผู้ประกอบการตามนโยบายภาครัฐ SME เกษตร จัดให้ทำแผนธุรกิจโดยมุ่งเน้นธุรกิจแปรรูปสินค้าเกษตรให้ตรงตามแนวโน้มตลาด / SME ทั่วไป จัดให้มีแผนธุรกิจมุ่งเน้นเริ่มต้นธุรกิจด้วยความคิดสร้างสรรค์ ใช้เทคโนโลยีประกอบธุรกิจ มีแนวคิดการพัฒนาธุรกิจอย่างต่อเนื่อง โดยมีพี่เลี้ยงที่เป็นนักธุรกิจในระดับท้องถิ่นดูแล

กิจกรรม 3 สร้างและพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการในเชิงลึก

ให้ตรงตามที่เหมาะสมกับผู้ประกอบการ เช่น การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าด้วยงานวิจัย นวัตกรรม และการนำเทคโนโลยีและ ICT มาช่วยในการทำธุรกิจ การออกแบบ พัฒนาบรรจุภัณฑ์ และการสร้างตราสินค้าเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ การพัฒนาปรับปรุงเทคโนโลยีและเครื่องมือในการเพิ่มผลผลิตและการยกระดับมาตรฐานสินค้าเกษตร ผ่านการรับรองให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐานมีความน่าเชื่อถือ การทำเกษตรเชิงพาณิชย์อย่างมืออาชีพ

กิจกรรม 4 เชื่อมโยงสินค้าเข้าสู่การส่งเสริมตลาด

เพื่อเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการให้เข้าโครงการพัฒนาช่องทางการตลาดสำหรับผู้ประกอบการ SME หรือโครงการช่องทางตลาดอื่นๆ /จับคู่เชื่อมโยงแหล่งเงินทุนร่วมกับสถาบันการเงินของรัฐ และ เอกชน หรือแหล่งเงินทุนอื่นๆ เพื่อเป็นการสนับสนุนทางด้านการเงิน
 
         โดยมีหน่วยร่วมดำเนินการ 8 หน่วยงาน ได้แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(สภาอุตสาหกรรมเพื่อการเกษตร) มหาวิทยาลัยมหิดลวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เพื่อดำเนินงานกิจกรรมโครงการตามแนวทางการพัฒนาผู้ประกอบการ และมีหน่วยร่วมที่สนับสนุนผู้ประกอบการอีก 2 หน่วยงาน ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และธนาคารออมสิน เพื่อรับสมัครและคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการ
 

หากผู้ประกอบการสนใจ สามารถสมัครเข้าร่วมโครงการได้ที่
http://www.smetracking2562.com/startup2562




โครงการอื่นๆ